ภาพเวกเตอร์ประกอบด้วยรูปร่าง เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม เส้นตรง และเส้นโค้ง โดยทั่วไป รูปร่างแต่ละชนิดจะประกอบด้วยลำดับการวาดรูปโดยใช้เคอร์เซอร์แบบดั้งเดิม กล่าวคือ เลื่อนเคอร์เซอร์ไปที่จุดใดจุดหนึ่ง วาดเส้นตรงไปยังจุดหนึ่ง วาดเส้นโค้งพร้อมจุดควบคุมไปยังจุดหนึ่ง จากนั้นจะเขียนเส้นขอบ และ/หรือเติมพื้นรูปให้แก่รูปร่างเหล่านี้ เพื่อสร้างอาร์ตเวิร์ก
การเขียนเส้นขอบหมายถึงการวาดเส้นขอบให้รูปร่างโดยให้เส้นมีความหนาและใช้สีบางสี สีนั้นอาจเป็นสีทึบตามปกติ หรือสีที่ไล่ระดับในลักษณะต่าง ๆ
การมีข้อมูลภาพในลักษณะของรูปร่างเหล่านี้อนุญาตให้คุณปรับขนาดภาพได้ตามที่คุณต้องการ โดยไม่สูญเสียคุณภาพ และดำเนินการต่าง ๆ ได้ เช่น ให้อุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์นำส่วนของรูปร่างมาตัด เสริมแต่งด้วยลวดลาย ระบายสี และอื่น ๆ
ลักษณะนี้มีความแตกต่างจากภาพบิตแมป ซึ่งข้อมูลภาพประกอบด้วยตารางของพิกเซลและค่าสีที่แต่ละพิกเซล ภาพเหล่านี้ปรับขนาดได้ไม่ดี และในแอปพลิเคชันที่คุณจำเป็นต้องดำเนินการบางอย่าง เช่น ตัด เสริมแต่ง วาด ฯลฯ จะทำให้เกิดปัญหาได้
คุณสามารถวาดภาพเดียวกันได้หลายวิธี โดยใช้รูปร่างและลำดับการวาดเส้นขอบและการเติมพื้นรูปต่าง ๆ กัน คุณอาจต้องใช้การจัดเรียงแบบใดแบบหนึ่งแทนแบบอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเป้าหมายของคุณคืออะไร
เมื่อศิลปินสร้างสรรค์อาร์ตเวิร์กแบบเวกเตอร์ขึ้นใหม่ตั้งแต่ต้น ก็อาจจัดวางรูปทรงต่าง ๆ ในลักษณะที่หลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับองค์ประกอบของภาพ จากนั้นจะใช้ทั้งการวาดเส้นขอบและการเติมพื้นรูปเพื่อให้ได้ผลงานออกแบบขั้นสุดท้าย ผลลัพธ์จากการใช้ Vector Magic จะมีให้เลือกได้สองแบบ นั่นคือ วาดเส้นขอบเท่านั้น หรือเติมพื้นรูปเท่านั้น
นี่เป็นโหมดเอาต์พุตที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเติมพื้นรูปให้แก่รูปร่างในภาพ แต่ไม่มีเส้นขอบ
เหมาะสำหรับงานพิมพ์และงานตัดแบบใช้เวกเตอร์ เช่น งานตัดไวนิล งานเลเซอร์แกะสลัก และงานปัก เพราะจะตัดเพียงครั้งเดียวต่อหนึ่งรูปร่าง อาจยังคงตัดสองครั้งต่อหนึ่งขอบ เนื่องจากขอบส่วนใหญ่จะกั้นระหว่างรูปร่างสองชิ้น
ไฟล์ที่ใช้งานง่ายขึ้น เข้ากันได้กับโปรแกรมดูภาพส่วนใหญ่
อาจมีเส้นสีขาวบาง ๆ ในโปรแกรมดูภาพที่มีจุดบกพร่อง โปรแกรมดูภาพส่วนใหญ่มีจุดบกพร่อง
เติมพื้นรูปเท่านั้น
นี่เป็นวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับโปรแกรมดูภาพที่มีจุดบกพร่อง โดยแสดงเส้นสีขาวบาง ๆ รอบรูปร่างที่มีเพียงแค่การเติมพื้นรูปเท่านั้น รูปร่างทั้งหมดจะมีเส้นขอบก่อน จากนั้นจะเติมพื้นรูปทั้งหมดในเลเยอร์ที่สอง วิธีนี้จะกำจัดเส้นสีขาวออก
เหมาะสำหรับใช้เพื่อแสดงภาพ เพราะจะไม่แสดงให้เห็นเส้นสีขาวบาง ๆ แม้กระทั่งในโปรแกรมดูภาพที่มีจุดบกพร่อง
ไฟล์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งอาจเข้ากันไม่ได้กับโปรแกรมดูภาพรุ่นเก่า
อาจตัดสองครั้งต่อหนึ่งรูปร่างเมื่อใช้กับงานตัดไวนิล งานเลเซอร์แกะสลัก งานปัก ฯลฯ
เส้นขอบ
พื้นรูป
เส้นขอบ + พื้นรูป