บทช่วยสอนนี้อธิบายวิธีแปลงภาพสแกนไปเป็นภาพเวกเตอร์ กระบวนการนี้มีชื่อเรียกว่า การลอกลาย หรือการปรับให้เป็นเวกเตอร์ และสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง หรือใช้เครื่องมืออัตโนมัติ ในบทช่วยสอนนี้ เราอธิบายวิธีที่ใช้ Vector Magic เพื่อดำเนินการแปลงภาพแบบนี้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

บทช่วยสอนนี้มีผลใช้กับภาพชนิดใดบ้าง

บทช่วยสอนนี้ใช้ได้กับ :

  • ภาพสแกนของอาร์ตเวิร์กที่วาดหรือพิมพ์บนกระดาษไว้แต่แรก

แต่ไม่ใช้กับ :

ฉันต้องใช้รุ่นไหนจึงจะฝึกหัดตามบทช่วยสอนนี้ได้

  • บทช่วยสอนนี้จะใช้ Vector Magic รุ่นเดสก์ท็อป คุณสามารถดาวน์โหลดเวอร์ชันทดลองได้จาก หน้าแอปพลิเคชันเดสก์ท็อป

  • รุ่นออนไลน์มีความคล้ายคลึงกับโหมดอัตโนมัติเต็มรูปแบบในรุ่นเดสก์ท็อปมาก อินเตอร์เฟซผู้ใช้ดูแตกต่างกันเล็กน้อย และไม่รองรับความโปร่งใส เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว คุณสามารถใช้รุ่นออนไลน์เพื่อฝึกหัดตามบทช่วยสอนนี้ได้

หลักปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับสแกนอาร์ตเวิร์กที่จะปรับให้เป็นเวกเตอร์

ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์การสแกนมีความแตกต่างกันตามบริษัทผู้ผลิต ดังนั้นเราจะแสดงข้อสังเกตไว้แบบกว้าง ๆ ข้อสังเกตต่อไปนี้เป็นแนวทางเท่านั้น โปรดทดลองใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และภาพต้นฉบับที่เฉพาะเจาะจงของคุณเอง เพื่อหาตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับงานของคุณ เราพบว่า :

  • ส่วนภาพต้นฉบับแบบภาพขาวดำ หรือโทนสีเทา ให้ลองตัวเลือกการสแกนโทนสีเทา

    • อย่าเลือกโหมดสแกนภาพขาวดำ เพราะจะทำให้สูญเสียข้อมูลจากการเทียบเป็นปริมาณ
    • อย่าใช้โหมดสแกนสี เนื่องจากจะทำให้เกิดสีภาพผิดเพี้ยนที่ไม่ต้องการในภาพสแกน ตรงบริเวณรอบขอบเขตของรูปร่าง
  • ส่วนภาพสีต้นฉบับ ให้ใช้การตั้งค่าสแกนสี
  • ปิดการตัดขอบให้คมชัด หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เพิ่มความคมชัดหรือความคมของขอบ แม้ว่าคุณสมบัติดังกล่าวช่วยให้ลักษณะบางอย่างของภาพสแกนดูโดดเด่นเพิ่มขึ้นในแง่ความสวยงาม แต่ลักษณะเหล่านั้นดีแต่ทำให้ปรับภาพเป็นเวกเตอร์ได้ยากขึ้น เท่านั้น
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องสแกนของคุณมีแท่นนอนที่สะอาดและปราศจากฝุ่นละออง
  • สแกนที่ความละเอียด 150-300 dpi ในกรณีของเครื่องสแกนสำหรับผู้บริโภคทั่วไป การสแกนภาพที่ความละเอียดสูงกว่า 300 dpi เป็นการกระทำที่ไม่สมเหตุผลนัก เพราะเครื่องสแกนส่วนใหญ่ไม่สามารถให้รายละเอียดที่สูงกว่านั้นได้จริงตามคำกล่าวอ้าง โดยทั่วไป เราจะเลือก 150 dpi สำหรับการสแกนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณตั้งใจที่จะปรับภาพบิตแมปที่ได้ให้เป็นเวกเตอร์
  • อย่าปรับขนาด ใช้ตัวกรอง หรือปรับเปลี่ยนภาพสแกนดิบก่อนที่จะปรับให้เป็นเวกเตอร์ คุณอาจครอบตัดให้มีขนาดที่เหมาะสมได้ แต่โดยทั่วไปการดำเนินการขั้นสูงกว่านั้นมักลงเอยด้วยการลบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ออกจากภาพสแกน
  • การพิจารณาคุณภาพของภาพสแกนที่ความละเอียดต่าง ๆ โดยละเอียด

    เราได้ทำการทดลองย่อย ๆ เพื่อแสดงให้เห็นคุณลักษณะของภาพสแกน

    • เราพบภาพที่เป็นสมบัติสาธารณะและแสดงงานออกแบบปมเคลติกที่น่าสนใจ คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ SVG ของภานี้ได้ที่นี่ นี่เป็นภาพบิตแมปของไฟล์นั้นหลังจากที่แรสเตอร์แล้ว :
    • ต่อมา เราได้พิมพ์ไฟล์นั้นโดยใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง ซึ่งทำให้ได้ภาพที่คมชัดเต็มขอบเขตสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 6 นิ้ว
    • จากนั้น เราใช้เครื่องสแกน Canon สำหรับผู้บริโภคทั่วไปเพื่อสแกนภาพที่ความละเอียด 3 ระดับคือ 150, 300, และ 600 dpi

    ในหัวข้อนี้ เราจะอธิบายสิ่งที่เราค้นพบ อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดข้างต้น เราสรุปไว้ว่าการสแกนที่ความละเอียดสูงกว่า 300 dpi เป็นการกระทำที่ไม่สมเหตุผล แน่นอนว่า การสแกนที่ 600 dpi จะให้ภาพที่ใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่า และเบลอมากเป็น 2 เท่าด้วยเช่นกัน

    ตัวภาพสแกนเองมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะแสดงไว้ในบทช่วยสอนนี้ แต่นี่คือลิงก์ที่นำไปยังขนาดต่าง ๆ: 150 DPI, 300 DPI, และ 600 DPI

    การซูมเข้าที่ขอบในภาพจะแสดงให้เห็นรายละเอียดที่เป็นประโยชน์

    150 DPI
    300 DPI
    600 DPI

    ในกรณีของภาพ 150 dpi ขอบนั้นมีความเบลอที่กว้างเพียงแค่ 1 พิกเซลเท่านั้น นี่เป็นลักษณะที่ควรเป็น หากขอบนั้นมีความคมไม่สิ้นสุด เซ็นเซอร์ของเครื่องสแกนเนอร์ก็ควรมองเห็นขอบนั้นเพียงแค่ 1 พิกเซลเท่านั้น พิกเซลนั้นควรเป็นสีเทาที่เหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับว่าขอบนั้นคร่อมอยู่บนพิกเซลมากเพียงใด

    ในกรณีของ 300 dpi ความเบลอกินพื้นที่ หรือ 2 หรือ 3 พิกเซล ซึ่งระบุว่าเกิดความเบลอขึ้นบ้าง แต่ไม่มีความชัดเจนว่าเป็นเพราะขีดจำกัดทางกายภาพของเซ็นเซอร์หรือการประมวลผลที่เกิดจากเครื่องสแกนหรือซอฟต์แวร์ของเครื่องสแกน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ความละเอียดที่ใช้งานจริงในขั้นสุดท้ายของภาพนี้ไม่ใช่ 300 dpi อย่างแน่นอน

    ในทำนองเดียวกัน กรณีของ 600 dpi ที่ความเบลอกินพื้นที่ 3 หรือ 4 พิกเซล ก็ควรถือว่าความเบลอในภาพสแกนนั้นมีความละเอียดที่ใช้งานจริงในขั้นสุดท้ายต่ำกว่าความละเอียดที่สแกนไว้มาก

    ในกรณีนี้ เราคิดว่าการสแกนที่ 150 dpi มีความเหมาะสมมากที่สุด หากมีเครื่องสแกนที่ดีกว่านี้ การสแกนที่ 300 dpi ก็อาจเหมาะสมกว่า

    การปรับภาพสแกนให้เป็นเวกเตอร์

    เราได้เลือกใช้ภาพสแกนที่มีความละเอียด 150 dpi แล้วใช้ Vector Magic รุ่นเดสก์ท็อปเพื่อปรับภาพให้เป็นเวกเตอร์ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ :

    • โหลดภาพโดยลากไปวางไว้ในแอปพลิเคชัน
    • เลือก "ตัวช่วยสร้างพื้นฐาน"
    • เลือก "โลโก้แบบขอบไม่ชัด"
    • เลือกคุณภาพ "ปานกลาง"
    • เลือก "สองสี"
    • เลือก "ตรวจสอบเสร็จแล้ว"
    • บันทึกภาพผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

    ประเมินภาพผลลัพธ์

    โดยมากแล้ว ภาพผลลัพธ์มีคุณภาพดีมาก แต่อาจมีบางมุมที่โค้งมนเล็กน้อย ทั้ง ๆ ภาพต้นฉบับมีความคมชัด แต่ส่วนใหญ่แล้ว ภาพผลลัพธ์ที่เป็นเวกเตอร์จะตรงกับภาพต้นฉบับมากทีเดียว ภาพเอาต์พุตในรูป SVG จากการปรับให้เป็นเวกเตอร์นี้สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

    ภาพหน้าจอด้านล่างแสดงภาพผลลัพธ์ตรงส่วนที่ซูมเข้าไป ภาพแรกคือผลลัพธ์ที่เป็นเวกเตอร์ ภาพที่สองเป็นส่วนที่ตรงกันในภาพบิตแมป ส่วนภาพที่สามเป็นภาพที่นำเส้นเวกเตอร์มาซ้อนทับบนภาพบิตแมปต้นฉบับ ในส่วนนี้ ภาพผลลัพธ์จะดูคมชัดสะอาดตา และสร้างให้เห็นรูปร่างดั้งเดิมได้อย่างชัดเจน

    ภาพสแกนคุณภาพต่ำ

    น่าเสียดายที่ว่า ภาพต้นฉบับบางภาพไม่มีความคมชัดสะอาดตาเหมือนในตัวอย่างก่อนหน้านี้ ตัวอย่างดังกล่าวสร้างขึ้นโดยการพิมพ์ภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ด้วยเครื่องพิมพ์เลเซอร์ จากนั้นสแกนกลับเข้าไปทันที ตัวอย่างต่อไปนี้มีความท้าทายกว่ามาก

    ภาพนี้เป็นภาพสแกนที่พบกันเป็นส่วนใหญ่ บุคคลที่สแกนภาพนี้ทำผิดตรงที่ใช้งานเครื่องสแกนในโหมดสี ดังนั้นจึงมีขอบสีที่ผิดเพี้ยนตามขอบเขตของรูปร่าง คุณภาพการพิมพ์ต้นฉบับดูเหมือนจะไม่ดี และโดยทั่วไปแล้วรูปร่างจะผิดปกติราวกับว่าวาดด้วยมือ ภาพด้านล่างแสดงให้เห็นภาพแบบลดขนาด ส่วนภาพที่มีความละเอียดเต็มที่มีให้ดูได้ที่นี่

    ภาพซูมต่อไปนี้แสดงให้เห็นปัญหาท้าทายบางส่วนในภาพต้นฉบับนี้

    สีเพี้ยนปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ด้านบนของรูปร่างสีขาวมีสีฟ้าปน ส่วนด้านล่างออกสีแดง นอกจากนี้ขอบยังมีลักษณะผิดปกติมากด้วย

    ผลลัพธ์ที่ปรับเป็นเวกเตอร์แล้ว

    อีกครั้งที่เราใช้ Vector Magic รุ่นเดสก์ท็อปเพื่อปรับภาพนี้ให้เป็นเวกเตอร์ ในกรณีนี้ เราลองใช้การตั้งค่าคุณภาพทั้งแบบ "ปานกลาง" และ "ต่ำ" เพื่อดูว่าจะให้ผลอย่างไร

    โปรดทราบว่า เมื่อมีการโหลดภาพขนาดใหญ่เช่นภาพนี้เข้าไปใน Vector Magic รุ่นเดสก์ท็อป โปรแกรมจะวิเคราะห์ภาพเพื่อตัดสินว่าสมควรที่จะลดขนาดของภาพหรือไม่ โปรดทราบว่าฟังก์ชันการปรับขนาดที่ใช้นั้นได้รับการคัดสรรมาเป็นอย่างดีเพื่อปรับปรุงคุณภาพให้มากที่สุด โดยอาศัยการเฉลี่ยพิกเซลอย่างมีประสิทธิผล คุณลักษณะการปรับขนาดส่วนใหญ่ในโปรแกรมแก้ไขภาพบิตโดยทั่วไปไม่ใช้การปรับขนาดด้วยวิธีนี้ ดังนั้นกรุณาใช้ Vector Magic เพื่อดำเนินการลดขนาด และอย่าเพิ่มขนาดภาพบิตแมปก่อนที่จะโหลดเข้าไปใน Vector Magic เป็นอันขาด เพราะการกระทำดังกล่าวดีแต่จะทำให้ผลลัพธ์มีคุณภาพต่ำลง

    ผลลัพธ์มีให้ดูได้ที่นี่ : คุณภาพต่ำ (SVG), คุณภาพปานกลาง (SVG)

    สามภาพถัดไปแสดงให้เห็นภาพสแกนต้นฉบับ 1 ภาพ และผลลัพธ์ที่ปรับให้เป็นเวกเตอร์ 2 ภาพ ภาคแรกคือต้นฉบับ ภาพที่สองมาจากผลลัพธ์ที่มีคุณภาพต่ำ ส่วนภาพที่สามเป็นผลลัพธ์ที่มีคุณภาพปานกลาง

    การตัดสินว่าผลลัพธ์แบบใดในสองแบบนี้ดีกว่ากันเป็นเรื่องของความชอบ ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพต่ำใช้โหนดน้อยกว่า และส่งผลให้มีรูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่ายกว่า ส่วนผลลัพธ์ที่มีคุณภาพปานกลางทำให้เกิดรูปทรงเรขาคณิตที่ใกล้เคียงภาพต้นฉบับมากกว่า แต่ก็ใช้โหนดมากกว่าด้วย โดยส่วนตัวแล้วเราชอบผลลัพธ์จากคุณภาพปานกลาง แต่ทั้งสองภาพก็มีข้อดีทั้งคู่

    ในภาพสุดท้ายนั้น เราได้นำเส้นทางเวกเตอร์จากผลลัพธ์แบบปานกลางมาซ้อนทับบนภาพบิตแมป เช่นเคย คุณจะเห็นว่าเส้นทางเวกเตอร์เดินตามภาพบิตแมปต้นฉบับอย่างใกล้ชิด คุณลักษณะนี้เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่ยอดเยี่ยมของ Vector Magic เมื่อเทียบกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้ปรับภาพให้เป็นเวกเตอร์โดยอัตโนมัติ

    สรุป

    บทช่วยสอนนี้จะให้แนวทางปฏิบัติและคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดในการปรับภาพสแกนให้เป็นเวกเตอร์โดยใช้ Vector Magic รุ่นเดสก์ท็อป เราได้นำเสนอเคล็ดลับในทางปฏิบัติจำนวนมากเพื่อช่วยให้คุณได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากภาพต้นฉบับและเครื่องสแกนของคุณ ทั้งยังได้แสดงตัวอย่างของการปรับภาพสแกนให้เป็นเวกเตอร์ไว้ 2 ตัวอย่าง: ตัวอย่างแรกคือ การสแกนแบบคุณภาพสูงจากภาพต้นฉบับคุณภาพดีที่คมชัด และตัวอย่างที่สองคือ การสแกนแบบคุณภาพต่ำจากภาพต้นฉบับคุณภาพต่ำ

    เราขอสนับสนุนให้คุณทดลองใช้งานดู Vector Magic อาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับภาพสแกนให้เป็นเวกเตอร์หากใช้งานอย่างถูกต้อง


ก่อนครอบตัด

ภาพของคุณมีขนาดเกินค่าขีดจำกัดขนาด หากต้องการผลลัพธ์ที่ดีที่สุด กรุณาครอบตัดภาพให้มีสัดส่วนที่คุณต้องการปรับเป็นเวกเตอร์

ขีดจำกัดขนาด


ภาพต้นฉบับ

ขนาด :
อัตราส่วนกว้างยาว :
เมกะพิกเซล :

ภาพที่ครอบตัดแล้ว

ขนาด :
อัตราส่วนกว้างยาว :
เมกะพิกเซล :
ภาพที่ครอบตัดแล้วมีขนาดเกินขีดจำกัดขนาดจะถูกลดขนาดให้เหมาะสม
ตรงตามขีดจำกัดขนาดและรักษาความละเอียดสูงสุดแล้ว